จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554

ป้อมเมืองบางกอก หรือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์  
จิตรกรรมฝาผนังวัดอัวพวันเจติยาราม สมุทรสงคราม
ภาพเมืองบางกอกและป้อมบางกอก


...อนึ่งป้อมวิไชเยนทร์ท้ายพระราชวังนั้น ให้ชื่อป้อมวิชัยประสิทธิ์ แล้วให้ขุดที่สวนเดิมเป็นที่ท้องนานอกคูเมืองทั้งสองฟาก ให้ เรียกว่าทะเลตม ไว้สำหรับจะได้ทำนาใกล้พระนคร...” 

         พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับราชหัตถเลขา ได้บันทึกเรื่องของการเปลี่ยชื่อป้อมปราการทางน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวรท้ายพระราชวังเดิม ติดต่อกับปากคลองบางกอกใหญ่(คลองบางหลวง) สร้างมาครั้งสมัยอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.2199-2231)  มีชื่อเสียงเรียงนามเรียกตามชื่อขุนนางต่างชาติที่มีบทบาทในสมัยนั้น ซึ่งเป็นผู้ทูลเสนอกับสมเด็จ พระนารายณ์ให้มีการสร้างป้อมที่เมืองบางกอกว่าป้อมวิไชเยนทร์หรือป้อมบางกอกตามสถานที่ตั้งของป้อมปราการนี้ แต่เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พ.ศ.2277-2325) ตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว ได้ทรงมีพระราชประสงค์ให้เปลี่ยนชื่อป้อมวิไชเยนทร์ใหม่ และทรงพระราชทานชื่อใหม่เป็น ป้อมวิไชยประสิทธิ์        
                                                                            

ป้อมและเมืองบางกอกใน
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-2231)

          ป้อมบางกอก หรือ ป้อมวิไชเยนทร์ ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ตั้งอยู่แขวงวัดอรุณฯ เขตบางกอกใหญ่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองบางกอกใหญ่ มีประวัติการปรากฏตามพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาว่า ...ที่เมืองบางกอกมีป้อมปืนอยู่แล้วทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ป้อมทางตะวันตกเป็นป้อมขนาดใหญ่ ส่วนทางตะวันออกเป็นป้อมขนาดเล็ก ป้อมทั้งสองมีลักษณะการก่อสร้างยังไม่แข็งแรงนัก..." ต่อมาเมือง ธนบุรีหรือบางกอกในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช       (พ.ศ.2199-2231หลังจากที่ฮอลันดานำกองเรือรบมาปิดปากน้ำของไทยใน พ.ศ.2207 หลังเกิดความขัดแย้งทางการค้ากันนั้น ความสำคัญของเมืองบางกอกเพิ่มขึ้น และทรงหาหนทางสร้างเสริมความสำคัญของเมืองในฐานะกุญแจสำคัญของพระราชอาณาจักร เมืองยุทธศาสตร์ทางทะเล และเมืองท่าเพื่อการค้าในระดับนานาชาติ การพัฒนาเมืองบางกอกให้เป็นรูปธรรมของสมเด็จพระนารายณ์นี้ สอดคล้องกับแนวคิดของเจ้าพระยาวิไชเยนทร์ (Costantino Paulkon)ที่ทูลเสนอต่อสมเด็จพระนารายณ์ฯตามพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาความว่



...ขอให้ก่อป้อมใหญ่ไว้ ณ เมืองธนบุรีทั้งสองฝากฝั่งน้ำ และจะทำสายโซ่ อันใหญ่ขึงขวางน้ำตลอดถึงกันทั้งสองฝั่งฟาก สำหรับจะป้องกันอรินราชไพรี จะมีทางทะเล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสเห็นชอบด้วยโดยถ้อยคำเจ้าพระยาวิชาเยนทร์กราบทูลนั้น แลทรงพระกรุณาดำรัสให้เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เป็นแม่กองก่อป้อม
เจ้าพระยาวิไชยเยนทร์